หน่วยที่ 2 อาหารสำรับ

ที่มา : https://www.youtube.com/channel/UCNTvf8tkqAUlCgTt4kTojqQ

D7399172-56

อาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้วทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่างๆ ไม่ทำให้เกิดโทษ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้ นม ฯลฯ ยกเว้นยารักษาโรค
อาหารที่เรารับประทาน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้้ และไขมัน
ความสำคัญของอาหาร
อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นต่อชีวิต ที่ช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆได้
ประโยชน์ของอาหาร อาหารที่เรารับประทานเข้าไป เมื่อร่างกายย่อยแล้วจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
1. ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ สมอง กระดูก ผิวหนัง เป็นต้น
2. ให้พลังงานและความอบอุ่นต่อร่างกายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดิน การเล่นกีฬาการทำงานบ้าน การใช้ความคิด
3. ช่วยซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอ
4. สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายในการต้านทานโรคต่างๆ ทำให้คนเราไม่เจ็บป่วยง่ายๆ ช่วยทำให้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายทำงานเป็นปกติ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาหารสำรับ ภาคกลาง

ภาคกลาง

นับได้ว่าเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ ถือได้ว่าภาคกลางเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสภาพทางภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง หนอง บึงมากมาย จึงทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศไมว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม หรือปศุสัตว์ นอกนั้นจากในบางพื้นที่ของภาคกลางยังมีบางส่วนที่ติดกับทะเลจึงทำให้ภาคกลางมีสัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารที่หลากหลาย
อาหารภาคกลาง เป็นประดิษฐ์กรรมทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติได้แก่ จีน อินเดีย ลาง เขมร พม่า เวียดนาม และประเทศจากชาติตะวันตกที่เข้ามานับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลายทั้งในด้านการปรุง รสชาติ และการตกแต่งที่แปลกตา น่ารับประทาน มีความวิจิตรบรรจงประณีตที่ได้มาการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารจากภายในวัง คนไทยภาคกลางกินข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง
รสชาติอาหารภาคกลางนับได้ว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าอาหารภาคอื่น อาหารภาคกลางมีการผสมผสานของหลาหลายรสชาติทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เอกลักษณ์ของรสชาติอาหารไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุงเพียงอย่างเดียว รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหารอาจได้ทั้งจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก ผลไม้บางชนิด เช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดความหลากหลายใช้ชนิดของอาหารไทยภาคกลาง เช่น ต้มยำ ใช้มะนาวเพื่อให้รสเปรี้ยว แต่ต้มโคล้งใช้น้ำมะขามเปียกเพื่อให้รสเปรี้ยวแทน นอกจากนั้นยังมีรสเค็ม ที่ได้จากน้ำปลา กะปิ รสขม ที่ได้จากพืชชนิดต่างๆ เช่น มะระ เป็นต้น และความเผ็ด ที่ได้จากพริก พริกไทย และเครื่องเทศ อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มีครบทุกรส ซึ่งอาหารไทยที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จักและนิยมบริโภคล้วนแต่เป็นอาหารภาคกลางทั้งนั้นไมว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ผัดไทย พะแนง เป็นต้น
วิธีการปรุงอาหารภาคกลางมีความหลากหลาย ซับซ้อน มีกรรมวิธีในการปรุงที่หลายแบบ ได้แก่ แกง ต้ม ผัด ทอด ยำ เครื่องจิ้ม เช่น น้ำพริก หลน เป็นต้น อาหารในสำรับมักประกอบด้วยอาหาร 4 ประเภทด้วยกัน คือ แกงเผ็ด แกงจืด ผัดหรือทอด และน้ำพริก รสชาติของอาหารไทยมักจะออกรสเผ็ด ดังนั้นจึงต้องมีอาหารรสเค็ม หรือเปรี้ยวๆ หวานๆ แนม เพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ด ดังนั้นคำว่า “ เครื่องเคียง หรือ เครื่องแนม ” หมายถึง อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่จัดเพิ่มขึ้นให้กับอาหารหลักในสำรับ เพื่อช่วยเสริมรสชาติอาหารในสำรับนั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อร่อยมากขึ้น นอกจากความอร่อยที่ได้จากเครื่องเคียงเครื่องแนมแล้ว เราจะเห็นศิลปะความงดงามในการจัดวางและการประดิษฐ์อาหารในสำรับนั้นๆ อาหารหลักแต่ละอย่างมีเครื่องแนมที่แตกต่างกันไป ดังนี้
ประเภทหลนและน้ำพริก
หลนต่างๆ มักกินกับผักดิบ นิยมใช้ปลาย่าง ปลาฟู ปลาทอด เป็นเครื่องแนม
น้ำพริกกะปิ กินกับผักต้มกะทิ นิยมใช้ปลาฟู กุ้งเค็ม เป็นเครื่องแนม
กินกับผักดอง นิยมใช้ประหลาดุกย่าง ปลาฟู หมูหวาน กุ้งเค็ม เป็น เครื่องแนม
กินกับผักผัดน้ำมัน นิยมใช้ปลาทูนึ่ง ปลาย่าง กุ้งเค็ม ไข่เจียว เป็นเครื่องแนม
น้ำพริกลงเรือ นิยมใช้หมูหวาน ไข่เค็ม ปลาช่อนย่างหรือปลาดุกย่าง เป็นเครื่องแนม
แสร้งว่า นิยมใช้ปลาทอด เป็นเครื่องแนม
ประเภทแกง
แกงเผ็ด นิยมใช้ของเค็ม หรือเปรี้ยวๆ หวานๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ปลาแห้ง เนื้อเค็ม ปลา เค็ม แตงโม
แกงส้ม นิยมใช้ของเค็มๆ มันๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ไข่เจียว ปลาเค็ม ไข่เค็ม หมูแดดเดียว
แกงขี้เหล็ก นิยมใช้หัวผักกาดยำเค็ม เป็นเครื่องแนม
แกงคั่ว นิยมใช้ของเค็มๆ เปรี้ยวๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ผัดหัว ผักกาดเค็ม
แกงมัสมั่น นิยมใช้อาจาด ผักดองอบน้ำส้ม ถัวลิสงทอดเคล้าเกลือ เป็นเครื่องแนม
ประเภทอาหารจานเดียว
ข้าวมันส้มตำ นิยมใช้เนื้อเค็มฝอยทอดกรอบ ไข่เค็ม ผักสด เป็นเครื่องแนม
ข้าวคลุกกะปิ นิยมใช้หมูหวาน กุ้งแห้งทอดกรอบ ใบชะพลูหั่นฝอย หอมแดง เป็นเครื่องแนม
ข้าวผัด นิยมใช้แตงกวา ต้นหอม มะนาว พริกขี้หนู เป็นเครื่องแนม และมักจะมีแกงจืดเป็น เครื่องแนม
ประเภทยำ
ยำไข่จะละเม็ด นิยมใช้มังคุด เป็นเครื่องแนม
ยำปลาทูนึ่ง นิยมใช้ผักกาดหอม ใบชะพลู เป็นเครื่องแนม
วัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทยภาคกลาง แต่เดิมนั้นนิยมนั่งรับประทานอาหารกับพื้น สำรับอาหารวางอยู่บนพื้นที่ปูด้วยเสื่อ พรม หรือโต๊ะเตี้ยตามแต่ฐานะของแต่ละครอบครัว มักรับประทานข้าวด้วยการเปิบมือ มีช้อนกลางสำรับตักแกงหรืออาหารที่เป็นน้ำ ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมการรับประทานอาหารจากชาติตะวันตกเข้ามา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทย มาเป็นการวางอาหารตั้งบนโต๊ะ นั่งเก้าอี้รับประทานอาหาร ใช้ช้อนและส้อมเป็นอุปกรณ์ในการรับประทานที่สำคัญ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาหารสำรับ ภาคเหนือ

อาหารสำรับ ภาคเหนือ

อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกแดง น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงฮังเล แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีอาหารพื้นเมือง เช่น แหนม ไส้อั่ว เนื้อนึ่ง จิ้นปิ้ง แคบหมู หมูทอด ไก่ทอดและผักต่างๆ
คนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาดเนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมาคือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล
อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน)
อาหารจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ รับประทานกับลาบไก่ หมู เนื้อ หรือ ลาบเลือด ส้มตำ ปลาย่าง ไก่ย่าง จิ้มแจ่ว ปลาร้า อาหารภาคนี้จะนิยมปิ้ง หรือย่างมากกว่าทอดอาหารทุกชนิดต้องรสจัด เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่ชาวบ้านหามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ งู หนูนา มดแดง แมลงบางชนิด ส่วนเนื้อหมู วัว ไก่ และเนื้อสัตว์อื่น ๆ ก็นิยมตามความชอบ และฐานะ สำหรับอาหารทะเลใช้ปรุงอาหารน้อยที่สุด เพราะนอกจากจะหายากแล้วยังมีราคาแพงอีกด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาหารสำรับ ภาคใต้

อาหารไทยภาคใต้

อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้ม ก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า ‘ข้าวยำ’ มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลา หอยนางรม และกุ้งมังกรเป็นต้น
ฝักสะตอ มีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียวเวลารับประทานต้องปอกเปลือก แล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ดหรือนำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุกแล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริกหรือจะใช้สดๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้
ภาคใต้… เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศ เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเลผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล

อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือปลาโดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่งคงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง

เพราะชีวิตของคนภาคใต้ เกี่ยวข้องกับทะเล เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกิดรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อได้ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหาร เช่น กุ้งส้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะซึ่งจะมีสีเขียวชนิดนี้เมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้ม สีจะออกแดง ๆและมีรสเปรี้ยว การทำกุ้งส้มนั้น นำกุ้งมาหมักกับเกลือ น้ำตาลทราย หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้
ภาคเหนือ เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดิดแดนแห่งประวัติศาสตร์
ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น และคนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากภาคอื่น ๆ ประกอบความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัด การรับประทานอาหารของคนภาค เหนือนั้น จะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียกว่าขันโตก แทนโต๊ะอาหารโดยสมาชิกในบ้านจะนั่งล้อมวงกัน

ลักษณะนิสัยที่ค่อนข้างเยือกเย็น สุขุมและสุภาพเรียบร้อย นับเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาให้เห็นถึง อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของคนภาคเหนือไม่ว่าจะเป็นข้างเหนียวซึ่งเป็นอาหารหลัก น้ำพริกอ่อง ซึ่งดูจะไม่เผ็ดมากนัก ตลอดจนกรรมวิธีถนอมอาหารอันแยบยล ที่ออกมาในรูปแบบของ แหนม หมูยอ แคบหมู และที่เป็นพิเศษจริงๆคือ อาหารจำพวกของสด เช่น ลาบสดที่ดูเหมือนจะเป็น มรดกทางวัฒนธรรมทางอาหารของต้นตระกูลไทยที่แท้จริง รวมถึงอาหารที่ได้รับอิทธิพลจาก ชาติต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง อาทิ แกงฮังเลที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า ข้าวซอยที่ได้รับอิทธิพลจาก จีนฮ่อ นอกจากนั้นแนวทางการรับประทานอาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือยังออกมาในรูปแบบ ของขันโตก ซึ่งประกกอบด้วยอาหารหลายๆอย่างในหนึ่งสำรับ เช่น น้ำพริกอ่อง แคบหมู แกง ฮังเล ลาบ ข้าวเหนียว ไก่ชิ้นทอด โดยเฉพาะมีการประยุกต์อาหารขันโตก

คนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาด เนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมา คือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล

อาหารที่ชาวพื้นเมืองชอบรับประทานเล่นเป็นพวกแมลงที่รู้จักแพร่หลายคือ “แมงมัน” ซึ่งเป็นมดชนิดหนึ่งที่อยู่ในดิน แต่มีปีกบินได้ ปกติแมงมันจะอาศัยอยู่ในรู หลังจากฝนตกใหญ่ครั้งแรกประมาณ ๒-๓ วัน แมงมันจะออกจากรู ชาวบ้านจะไปจับมาคั่ว โดยใส่น้ำมันน้อยๆ คั่วให้กรอบ แล้วใส่เกลือเล็กน้อยก็ใช้เป็นอาหารได้ แมงมันจะมีให้จับมาคั่วเป็นอาหารได้เพียงปีละครั้ง ปัจจุบันราคาแพงมาก

แมลงอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “จี้กุ่ง” มีลักษณะเหมือนจิ้งหรีด ผิวหรือหนัง สีน้ำตาลแดง ใช้ทอดหรือชุบไข่ทอดเป็นอาหารได้

ทางภาคเหนือมีผักเฉพาะที่นำมาปรุงอาหารต่างจากภาคอื่นๆ เช่น “ผำ” หรือไข่แหน หรือที่คนภาคกลางเรียกว่า “ไข่น้ำ” มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ เท่าไข่ปลา ลอยอยู่ในน้ำคล้ายจอกแหน วิธีนำมาปรุงอาหารคือ เอามาต้มให้สุก ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอม กระเทียม และกะปิ แล้วรับประทานกับข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว อาจใส่หมูหรือกุ้งสับละเอียดผสมลงไปด้วยก็ได้

นอกจากนี้ก็มี “เตา” ซึ่งเป็นพืชน้ำอีก

ชนิดหนึ่งที่คนภาคกลางเรียกว่า “ตะไคร้น้ำ” ใช้เตาสดๆ หั่นฝอย แล้วใส่เครื่องปรุงต่างๆ เป็นยำ และยังมีผักแพะ คำว่า แพะ ตามความหมายของคนภาคเหนือหมายถึง “ป่าโปร่ง” ฉะนั้นผักแพะจึงหมายถึง ผักชนิดหนึ่งที่ขึ้นในป่าโปร่งนั่นเอง วิธีนำมาปรุงอาหาร คือ ใช้ยอดผักแพะสดๆ จิ้มน้ำพริกหรือจะนำมา

ข้อความนี้ถูกเขียนใน Uncategorized คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

48 ตอบกลับที่ หน่วยที่ 2 อาหารสำรับ

  1. ชลธิฌา ทองหิน พูดว่า:

    นางสาว ชลธิฌา ทองหิน ชั้น ม.3 เลขที่ 22 จากที่ได้เรียนเรื่องอาหารแต่ละภาค ทำให้ได้รู้ถึงจุดเด่นของอาหารแต่ละภาค ว่าแต่ละภาคจะมีจุดเด่นของอาหารแตกต่างกัน บางภาคอาจจะกินเค็ม กินเปรี้ยว กินหวาน และอื่นๆอีกมากมาย ส่วนผักที่นำมากินก็จะเอามาจากภูมิภาคท้องถิ่นที่หาได้ง่าย แต่อาหารที่ดิฉันชอบคืออาหารภาคใต้ เพราะดิฉันชอบกินเผ็ด อาหารภาคใต้มีความเผ็ด และมีกลิ่นหอมสมุนไพรด้วย ขอบคุณค้ะ

    ถูกใจ

  2. ณัฎฐากร ทองอำไพ พูดว่า:

    ณัฎฐากร ทองอำไพ ม.3 เลขที่4 ไดรู้เกี่ยวกับ อาหารสำรับ ไดรู้เรื่องเกียวกับอาหาร การปรุงอาหาร อาหารนิยมแต่ละภาค รสชาตไม่เหนือกัน บางภาคอาจะเปรี้ยว จะเผ็ด ส่วนประกอบอาหารก็แล้วแต่ละภาค ขอบคุณครับ

    ถูกใจ

  3. นางสาวอัญชุลีพร คเชนทร พูดว่า:

    นางสาวอัญชุลีพร คเชนทร ม.3 เลขที่21
    จากที่ได้อ่านอาหารประเภทสำรับ อาหารแต่ละภาคมีรสชาติที่แตกต่างกันไป เช่นภาคกลางจะกินรสชาติกลางๆ ส่วนภาคใต้จะทานอาหารรสจัดและใช้เครื่องเทศ เช่น ขมิ้นดับกลิ่นคาวได้ และได้รู้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนที่มีประโยชน์ต่อร่ากายด้วยค่ะ ขอบคุณน้ะค่ะ 😚

    ถูกใจ

  4. อัฐธนวัฒน์ อนันตกลิ่น พูดว่า:

    อฐธนวัฒน์ อนันตกลิ่น ม.3 เลขที่่10 คนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาด เนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมา คือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล ขอบคุณครับ

    ถูกใจ

  5. นางสาวศิริลักษณ์ ฤทธิ์บุญ พูดว่า:

    นางสาว ศิริลักษณ์ ฤทธิ์บุญ เลขที่ 19 ม.3
    หน่วยที่ 2 อาหารสำรับ
    ความรู้ที่ได้รับ : ได้รู้รสชาติและจุดเด่นที่ต่างกัน เช่นภาคกลาง นิยมรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน คลุ้กเคล้ากันไปอาหารที่ชาวต่างชาตินิยมคือต้มยำกุ้ง
    ภาคเหนือ รสชาติอาหารจะได้ความหวานจากผัก ได้ความเปรี้ยวจากมะเขือส้มไม่นิยมใส่น้ำตาล
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก รับประทานกับน้ำพริกเป็นส่วนใหญ่
    ภาคใต้ นิยมใช้ขมิ้นในการประกอบอาหาร นิยมความเผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว ไม่นิยมรสหวาน
    ขอขอบคุณค่ะ

    ถูกใจ

  6. ด.ช. สุทิวัส พ่วงพิศ พูดว่า:

    ด.ช. สุทิวัส พ่วงพิศ ม.3 เลขที่7 จากที่ได้เรียน อาหารภาคต่างนั้นจะรสชาติไม่เหมือนกัน ภาคใต้จะกินรสเผ็ด และจะใส่ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวในอาหาร อาหารสำรับจะได้คุณค่าอาหารครอบ5หมู่ แมลงอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “จี้กุ่ง” มีลักษณะเหมือนจิ้งหรีด ผิวหรือหนัง สีน้ำตาลแดง ใช้ทอดหรือชุบไข่ทอดเป็นอาหารได้ ขอบคุณครับ

    ถูกใจ

  7. 0943368076 พูดว่า:

    ด.ญ.กมลวรรณ เกิดแก้ว ม.3 เลขที่13
    จากที่ได้เรียนรุ้เรื่องอาหารประเภทสำรับ อาหารประเภทสำรับ หมายถึง อาหารที่จัดเป็นชุด มีอาหารหลายอย่าง หลายรสชาติ หลายลักษณะ ภาคกลาง เช่นข้าวสวยกับแกงมัสมั่น ปลาสลิดทอด ผัดดองสามรส ภาคเหนือ เช่น ข้าวเหนียวจัดกับน้ำพริกหนุ่ม แคบหมู่ แกงฮังเล ผัดสด เป็นต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือข้าวเหนืยวจัดกับลาบ ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น ภาคใต้ ข้าวสวยจัดกับแกงส้มหน่อไม้ดอง ผัดสะตอ ผักเหนาะ เป็นต้น ภาคกลางอาหารหลักก็จะมีขนมจีนซาวน้ำ เป็นต้น ภาคเหนืออาหารหลักก็จะมีแกงฮังเล ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาหารหลักก็จะมีลาบไก่ เป็นต้น ภาคใต้อาหารหลักก็จะมีแกงเหลือง ผัดสะตอกุ้ง เป็นต้น ขอบคุณค่ะ

    ถูกใจ

  8. นางสาว มณธิชา ธนิกกุล พูดว่า:

    นางสาว มณธิชา ธนิกกุล ม.3 เลขที่ 18
    อาหารสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีข้าวเหนียวเป็นหลัก รับประทานกับน้ำพริกปลาร้า ผักต้ม และเนื้อสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ปลา ฮวกหรือลูกอ๊อด กุ้งฝอย อึ่งอ่าง ปูนา หอยโข่ง หอยขม หนุนา กิ้งก่า หมู ไก่ เป็ด นำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยใช่ปลาร้า ข้าวเบือ ข้าวคั่ว พริกป่น เครื่องปรุงรส มีผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ผักติ้ว ยอดจิก ผักแว่น หน่อไม้รวก เป็นเครื่องเคียงเครื่องแนมของลาบ ก้อย น้ำพริก
    ขอบคุณค่ะ

    ถูกใจ

  9. ด.ญ.ภูษณิศา แก้วปู่วัด พูดว่า:

    ด.ญ.ภูษณิศา แก้วปู่วัด ม.3 เลขที่17
    ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ อาหารสสำรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    จะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก รับประทานกับน้ำพริกปลาร้า ผักต้ม มีรสที่จัดจ้าน เช่น ลาบไก่ ส้มตำปูดอง ซุปหน่อไม้ แกงอ่อมปลาดุก เป็นต้น ขอขอบคุณค่ะ

    ถูกใจ

  10. ด.ญ.สุภนิดา งามพร้อม พูดว่า:

    ด.ญ.สุภนิดา งามพร้อม ม.3 เลขที่ 19
    จากที่ได้เรียนเรื่องอาหารประเภทสำรับ เรามักจะนิยมกินอาหารที่แพง เราไม่เคยนนึกถึงอาหารพื้นบ้านเลย เช่น ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน อาหารของภาคกลางจะมีรสชาติเค็ม เผ็ด เปี้ยวและก็หวาน อาหารแต่ละภาคมีรสชาติไม่เหมือนกัน ขอบคุณค่ะ

    ถูกใจ

  11. อานนท์ นิลเลี่ยม พูดว่า:

    นาย อานนท์ นิลเลี่ยมม ม.3 เลขที่11
    ได้เรื่องอาหารของแต่ละภาครสชาติของแต่ละภาคที่แตกต่างกันมากมายแต่และภาครสชาติก็แตกต่างกันไปเช่น รสเผ็ด รสเค็ม รสเปี้ยว รสหวาน อารหาร ส่วนใหญ่กินอาหารต้มอาหารทอดกับอาหารนึง เเล้วแต่คนต่างละภาคจะกิน

    ถูกใจ

  12. ด.ชอชิตพล ขวัญโต พูดว่า:

    ด.ช.อชิตพล ขวัญโต ม.3 เลขที่8ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหารภาคใต้จะมีรสชาติเผ็ดร้อนภาคใต้เครื่องเทศเช่นขมิ้น
    เพื่อดับคาวของปลาแล้วขมิ้นนี้ทำให้อาหารแทบทุกอย่างของภาคใต้มีสีเหลืองเช่นแกงส้มหรืแกงเหลือง ขอบคุณคับ

    ถูกใจ

  13. กิตติศักดิ์ เจียตั๊ด พูดว่า:

    นาย กิตติศักดิ้ เจียตั๊ด ชั้น ม.3 เลขที่1 อาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้วทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่างๆ ไม่ทำให้เกิดโทษ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้ นม ฯลฯ ยกเว้นยารักษาโรค
    อาหารที่เรารับประทาน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้้ และไขมัน ขอบคณุครับ

    ถูกใจ

  14. นางสาว มณธิชา ธนิกกุล พูดว่า:

    นางสาว มณธิชา ธนิกกุล ม.3 เลขที่ 18
    อาหารที่จัดเป็นชุด มีเครื่องเคียงเครื่องแนม ซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของไทยในแต่ละภาค
    อาหารสำหรับภาคเหนือ นำพืชที่มีอยู่มากในท้องถิ่นมาประกอบอาหารไม่นิยมใส่น้ำตาลในการปรุงรส จัดอาหารใส่ขันโตก
    อาหารสำรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นรสชาติจัดและค่อนข้างเค็ม จัดใส่กระด้ง
    ขอบคุณค่ะ

    ถูกใจ

  15. น.ส.ทิพย์สุคนธ์ ภานุมาส พูดว่า:

    สวัสดีค่ ชื่อ น.ส.ทิพย์สุคนธ์ ภานุมาส ม.3 เลขที่15
    จากที่ได้เรียนเรื่องอาหารประเภทสำรับ ได้รู้ว่าอาหารประเภทสำรับจะมีเป็นชุด และมีรสชาติ ลักษณะที่หลากหลาย และอาหารของแต่ละภาคจะมีรสชาติไม่เหมือนกัน เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักทานกับน้ำพริกปลาร้า ผักต้มฯลฯ อาหารภาคนี้จัมีรสชาติจัดจ้าน และรู้คุณค่าทางโภชนาการ
    ขอบคุณค่

    ถูกใจ

  16. ดวงกมล จันทร์คง พูดว่า:

    น.ส.ดวงกมล จันทร์คง เลขที่14 ม.3

    ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรสชาติของอาหารแต่ละภาคที่แตกต่างกันไปโดยบางภาคจะมีการจัดสำหรับและเครื่องเคียงที่แตกต่างการไปและมีโภชนาการที่หลากหลายบางภาคอาจจะมีรส เผ็ดร้อน เปรียว เค็มหวาน
    ขอบคุณคะ

    ถูกใจ

  17. Ananya23 พูดว่า:

    ด.ญ.อนัญญา สายสุนีย์ ม.3 เลขที่20
    จากที่ได้เรียนเรื่องอาหารประเภทสำรับ เป็นอาหารที่จัดเป็นชุดมีอาหารหลายอย่าง หลายรสชาติ และมีทุกภาคแต่ละภาคจะมีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป ภาคกลางจะไม่เน้นรสชาติแต่ละรสชาติจะคลุกเคล้ากันไปตามชนิดของอาหาร ภาคเหนือมักจะนำพืชตามป่ามาใช้ในการปรุงอาหารรสชาติจะได้ความหวานของผักไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหารคาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักและมีรสชาติจัดจ้าน ภาคใต้มักประกอบอาหารด้วยปลา รสชาติเผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว ไม่นิยอมรสหวาน จะเห็นว่าแต่ละภาคมีรสชาติที่แตกต่างกันเน้นรสชาติไม่เหมือนกัน ขอบคุณค่ะ!

    ถูกใจ

  18. donutza_285@gmail.com พูดว่า:

    ด.ญ.นัฐวรรณ ลิ้มประเสริฐ ม.3 เลขที่16
    ได้วามรู้ว่า อาหารของเเต่ละภาคจะมีรสชาติที่เเตกต่างกันไปอาหารหารบางภาคจะมีรสจัดมากเเละอาการบางภาคก้อจะมีรสชาติที่ไม่จัดมาก อาหารของภาคกลางจะเน้นเเตละรสชาติเช่น เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เเละเผ็ด เเละอาหารที่จัดเป็นประเภทสำรับคือจัดอาหารมาใส่ไว้ในสำรับจัดเป็นชุดซึ่งคนสมัยก่อนจะนิยมรับประทานอาหารเเบบสำรับซึ่งนั่งตั้งวงกันทาน ขอบคุณค่ะ

    ถูกใจ

  19. ด.ช. ภานุมาศ คะเชนทร พูดว่า:

    ด.ช ภานุมาศ คะเชนทร ม3 เลขทื่5คนไทยสมัยก่อน โดยเฉพาะในวังหรือบ้นเจ้านายหรือผู้ที่มีฐานะรํ่ารวย จะพิถีพิถันในการจัดอาหารให้น่ารับประทาน และจัดอาหารหลาย ๆ อย่างในภาชนะที่สวยงาม วางรวมกันในถาดหรือโตกแล้วยกบริการทั้งชุด ซึ่งเราเรียกอาหารประเภทนี้ว่า อาหารประเภทสํารับ

    ถูกใจ

  20. นางสาว ฐิตวันต์ คงวิจิตร พูดว่า:

    น.ส. ฐิตวันต์ คงวิจิตร ม.3 เลขที่ 24
    อารหารสำหรับภาคกลาง ไม่เน้นรสชาติอาหารรสใดรสหนึ่ง ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหาร จัดอาหารใส่ถาด
    ขอบคุณค่ะ
    .

    ถูกใจ

  21. ดชทศพร อมรสันต์ พูดว่า:

    ดชทศพร อมรสันต์ม.3เลขที่3
    จากที่ได้เรียนเรื่องอาหารประเภทสำรับ เป็นอาหารที่จัดเป็นชุดมีอาหารหลายอย่าง หลายรสชาติ และมีทุกภาคแต่ละภาคจะมีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป ภาคกลางจะไม่เน้นรสชาติแต่ละรสชาติจะคลุกเคล้ากันไปตามชนิดของอาหาร ภาคเหนือมักจะนำพืชตามป่ามาใช้ในการปรุงอาหารรสชาติจะได้ความหวานของผักไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหารคาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ถูกใจ

  22. ด.ช.วรพรต ช้อยสกุล พูดว่า:

    ด.ช.วรพรต ช้อยสกุล. ม.3เลขที่6 อาหารประเภทสำรับหมายถึงอาหารจัดเป็นชุดและมีอาหารหลายอย่างหลายรสชาติหลายลักษณะซึ่งสามารถรับประทานร่วมกันได้อาหารประเภทสำรับได้แก่เช้ากลางวันและเย็นบางชุดมีเพียงอาหารคาวอาหารชุดเหล่านี้นิยมใส่ชามขอบคุณครับ

    ถูกใจ

  23. วณิชชา นิลมาก พูดว่า:

    อาหารเป็นสิ่งจำเป็นทำไห้ร่างกายเจริญเติบโต
    และได้รุ้ว่าอาหารของแต่ละภาคจะมีรสชาติที่ไม่เหมือนกัน
    อาหารสำหรับ อาหารที่ยุในสำหรับจะมีหลายๆอย่างที่ไม่เหมือนกัน
    ในแต่ละภาค

    ถูกใจ

  24. เห็ด'ด น้อย'ย พูดว่า:

    ด.ญ.วราภรณ์ ทองสอาด ม.3 เลขที่25
    ประเทศไทยมี4ภาค อาหารของแต่ละภาคจะมีความหลากหลายออกไป
    1ภาคกลาง อาหารของภาคกลางจะมีรสชาติเค็มเผ็ดเปรี้ยวหวาน มีการใช้กะทิในการทำอาหาร
    อาหารเช่น ขนมจีนซาวน้ำ น้ำพริกกะปิ เครื่องเคียงจะเป็นแตงกวา มะเขือเปราะ
    2ภาคเหนือ มักใช้พืชตามธรรมชาติมาปรุงรส รสหวานจะได้จากผัก ภาคเหนือจะมีน้ำปู๋
    อาหารคือแกงฮังเลน้ำพริกหนุ่ม เครื่องเคียงคือ แคบหมู
    3ภาคอีสาน อาหารหลักคือข้าวเหนียว กินกับน้ำพริปลาร้า ชอบรสชาติจัดจ้าน เผ็ดเค็มเปรี้ยว
    อาหารที่มักจะกินกันคือลาบไก่ ส้มตำ เป็นต้น
    4ภาคใต้ อาหารของคนใต้มักจะประกอบด้วยปลาเพราะติดทะเล ใช้ขมิ้นดับคาวปลา รสเผ็ดจะได้จากพริกขี้หนู รสเค็มได้จากกะปิและเกลือ รสเปรี้ยวได้จากตะลิงปลิง จะมีน้ำบูดูทรงเครื่อง เครื่องเคียงจะเป็น ยอดกระถิน แตงกวา นิยมทานแกงเหลือง ผัดสะตอกุ้ง เป็นต้น.
    ขอบคุณค่ะ

    ถูกใจ

  25. อนุชิต ภู่สกุล พูดว่า:

    นายอนุชิต ภู่สกุล เลขที่ 18 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    อาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้วเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา เเละเเต่ละภาคจะมีอาหารประจำภาคเป็นเอกลักษณ์ของภาค ภาคกลางอาหารจะมีสรชาติ เปรี๊ยว เค็ม หรือจืด รสชาติไม่จัดจ้าน อาหารส่วนใหญ่จะเป็นอาหารประเภท แกง ผัด ยำ ภาคเหนืออาหารจะมีรสชาติ เค็มเเละเผ็ด เพราะวัตถุดิบที่ใช้มาประกอบอาหารจะเป็นวัตถุดิบเฉพาะซึ่งจะหาได้ตามภาคเหนือเท่านั้น อาหารส่วนใหญ่จะเป็นน้ำพริก แกง เเละอาหารบางชนิดจะมีราคาสูงด้วย ภาคใต้อาหารจะมีรสชาติที่เผ็ด จัดจ้าน นิยมเป็นอาหารประเภทน้ำพริกกับแกง เเต่วัตถุดิบจะเเตกต่างจากภาคอื่นๆ เขาจะนำวัตถุดิบในพื้นที่ มาประกอบอาหาร เเละนิยมรับประทานผักเป็นเครื่องเคียงเพื่อแก้เผ็ด แต่ละถาคนั้น จะมีวัตถุดิบที่เเตกต่างกันไป เพราะส่วนใหญ่จะนืยมใช้วัตุถุดิบในท้องถิ่่น มาประกอบอาหาร เช่น น้ำปู๋ น้ำบูดู เป็นต้น

    ถูกใจ

  26. ด.ช.ภาณุพงษ์ อ่วมเศรษฐี พูดว่า:

    ด.ช.ภาณุพงษ์ อ่วมเศรษฐี ม.3เลขที่10
    อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกแดง น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงฮังเล แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีอาหารพื้นเมือง เช่น แหนม ไส้อั่ว เนื้อนึ่ง จิ้นปิ้ง แคบหมู หมูทอด ไก่ทอดและผักต่างๆ
    คนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาดเนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมาคือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ

    ถูกใจ

  27. ด.ช.วัฒนา นาคสุข พูดว่า:

    สรุปได้ว่าอาหารแต่ละภาคมีอาหารรสชาติไม่เหมือนกัน
    และแต่ละภาคมีการใช้วัสดุการทำแตกต่างกันและ
    การทำแต่ละภาคบางภาคก็รสจัดบางภาคก็รสอ่อน
    และส่วนมากใช้วัสดุจากการหาเอง

    ถูกใจ

  28. ด.ญ.อภิญญา ธรรมสวัสดิ์ พูดว่า:

    อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานเข้าไปแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย
    อาหารของแต่ละภาคมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนกัน เช่น รสชาติ การจัดสำรับ กลิ่นของอาหาร เป็นต้น
    ภาคกลาง เป็นภาคที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ อาหารภาคกลางมีความโดดเด่นทางรสชาติ การผสมผสานรสชาติ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด
    ภาคเหนือ จะทานอาหารรสชาติกลางๆมีเค็มเล็กน้อย เปรี้ยวหวานมีน้อยแทบไม่นิยมเลย
    ภาคใต้ อาหารส่วนใหญ่ของภาคใต้มักเกี่ยวข้องกับปลาที่มาจากท้องทะเล เครื่องเทศภาคใต้ขาดขมิ้นไม่ได้ เพราะ ขมิ้นจะดับกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี อาหารภาคใต้จะนิยมรสเผ็ดและเค็ม
    ด.ญ.อภิญญา ธรรมสวัสดิ์ ม.3 เลขที่28

    ถูกใจ

  29. น.ส ธารทิพย์ นิลวาส. พูดว่า:

    นางสาว ธารทิพย์ ืนิลวาส ม.3. เลขที่22
    จากทีได้เรียนบทนี้..
    ได้ความรุ้เกี่ยวกับเรื่อง..อาหารของภาคต่างๆ
    การจัดสำหรับอาหารของเเต่ละภาค…..รสชาติ…วัตถุดิบ…อุปกรณ์ ขั้นตอนในการทำ
    อาหารของเเต่ละภาค. ก็จะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป. วัตถุดิบ. ขั้นตอน. และวิธีการจัดสำหรับที่ไม่เหมือนกัน วัตถุดิบที่เเตกต่างกันไป เพราะส่วนใหญ่จะนืยมใช้วัตุถุดิบในท้องถิ่่น มาประกอบ
    อาหารของภาคกลาง. รสชาติจะไม่จัดจ้าน เป็นต้น
    ภาคใต้ อาหารจะมีรสเผ็ด นิยมใส่ขมิ้นลงไปในแกง อาหารของภาคใต้จะมีผักทุกมื้อเพราะช่วยลดอาการเผ็ดของอาหารเป็นต้น
    ภาคภาคเหนือ รสชาติ รสหวานจะได้จากผัก ภาคเหนือจะมีน้ำปู๋
    อาหารคือแกงฮังเลน้ำพริกหนุ่ม เครื่องเคียงคือ แคบหมู
    ภาคอีสาน อาหารหลักคือข้าวเหนียว กินกับน้ำพริปลาร้า ชอบรสชาติจัดจ้าน เผ็ดเค็มเปรี้ยว

    ถูกใจ

  30. ด.ญ.นันทวัน ผลลูกอินทร์ พูดว่า:

    ด.ญ.นันทวัน ผลลูกอินทร์ ม.3 เลขที่23
    ได้รู้ว่าอาหารมี4ภาคอาหารสำหรับภาคกลางก็จะมีข้าวมัน ส้มตำ เนื้เค็มฉีดฝอย แกงเผ็ด อาหารสำห่ับภาคเหนือก็จะมีน้ำพริกหนุ่มปักที่กินคู่กับน้ำผิกหนุ่มแคบหมูอาหารสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็จะมีแกงออมปลาดุก ส้มตำ ไก่ ลาบ ข้าวเหนียวอาหารสำหรับภาคใต้ก็จะมีพัดสตอ บูดูทรงครื่อง แกลงเหลือง

    ถูกใจ

  31. ด.ญ.กนกวรรณ แสงสาคร พูดว่า:

    ด.ญ.กนกวรรณ แสงสาคร ม.3 เลขที่20
    อาหารภาคกลาง
    -เป่นภาคที่อุดมสมบูรณ์ อาหารภาคกลางมีการผสมผสาร
    หลากหลายรสชาติ. มีทั้ง เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ซึ้งจะแต่ต่างจากภาคอื่นๆ
    อาหารสำรับภาคเหนือ
    -ประกอบไปด้วยข้าวเหนียว น้ำพริกต่างๆแกงต่างๆและอาหสรพื้นเมืองเช่นแหนม,ใส้อั่ว,แคบหมูและอื่นๆ. รสชาติ เค็มนำเล็กน้อย เปรี้ยวกับหวานมีน้อยมาก
    อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)
    -ข้างเหนียว รับประทานกันไก่,หมู,ลาบเลือด,ส้มตำ,ปลาร้าและอื่นๆ
    อาหารภาคใต้
    -รสชาติจะเผ็ดมาก แกงจะมีน้ำบูดูผสมซึ้งจะมีรสเค็ม อาหารพื้นเมืองคือ”แมงมัน”

    ถูกใจ

  32. ภาคภูมิ ศรัทธาผล พูดว่า:

    ด.ช. ภาคภูมิ ศรัทธาผล ม.3 เลขที่ 9
    สรุปได้ว่าการกินอาหารของแต่ละภาคแต่กต่างกันครับ ภาคเหนือจะมีการกินอาหารแบบมีผักแก้มด้วยกินกับข้าว
    ภาคใต้จะมีการกินอาหารแบบเผ็ดจัดและก้อมีผักดิบแก้มกับข้าว

    ถูกใจ

  33. นาย ปณชัย อรุณราช พูดว่า:

    การจัดสำรับอาหาร เป็นวิธีการทำไห้สำรับอาหารหน้ากินมากขึ้น การจัดสำรับมีการจัด 4 เเบบ ดังนี้
    ภาค กลาง ภาคเหนือ ภาคไต้ ภาค อีสาน การจัดสำรับทุกภาค มีการทำที่เเตกต่างกันไป

    ถูกใจ

  34. ด.ญ.อรุณทิพย์ รอดสุธา ม.3 เลขทื่30 พูดว่า:

    อาหาร คือสิ่งที่รับประทานเข้าไปเเล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย
    อาหารในเเต่ละภาตจะมีรสชาติที่ไม่เหมือนกันของเเต่ละภาค มีกลิ่นหอมไม่เหมื่อนกันเเละยังมีประโยชน์ที่เเตกต่างกันไป
    อารหารภาคกลางจะเน็นรสชาติ หวาน เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เเละจืด ซึ่งจะเเตกต่างภาคอื่นๆ
    อารหารภาคเหนือจะเน็นรสชาติ เค็มนำเล็กน้อยหวานเปรี้ยวมีได้น้อยมาก ซึ่งจะมีรสชาติที่เเปลกออกไปอีก
    อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)จะเน็นรสชาติ เค็มนิดน้อยหวานเปรี้ยวตามมา เพื่อให้รสชาติมีรสเค็มนำเเล้วหวามเปรี้ยวตามมา
    อาหารภาคใต้จะเน็นรสชาติ เผ็ดมาก จะไม่ค่อยมีรสชาติเค็ม,หวาน,เปรี้ยว เเต่จะมีรสชาติที่เผ็ดมาก

    ถูกใจ

  35. Sirirat kongyon พูดว่า:

    ด.ญ สิริรัตน์ คงยนต์ ม.3 เลขที่26 จากที่ได้เรียนรู้เรื่องอาหารสํารับแต่ละภาค ได้เรียนรู้อาหารของภาคต่างแยกออกไป เช่น อาหารหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือข้าวเหนียว ใช้รับประทานควบคู่กับผักต้ม เนื้อสัตว์ที่นํามารับประทานกับข้าวเหนียวจะเปรเนื้อสัตว์ที่หาได้มนท้องถิ่น

    ถูกใจ

  36. Mr. FaGamer พูดว่า:

    ด.ช.วงศกร จันทร์สุวรรณ ม.3 เลขที่31
    อาหารนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่มนุษย์ต้องการและก็เป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยหลักของการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอาหารไทยของเราที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพราะว่ามีสูตรการปรุงการจัดตกแต่ง และรสชาติที่แตกต่างจากชาติอื่น จึงเป็นเหตุให้คนทั่วโลกยกย่องในฝีมือและรสชาติของอาหารไทยให้เป็นอันดับหนึ่งของโลก

    ถูกใจ

  37. กุอั๋น เเคมจิ๋ว พูดว่า:

    ด.ช.วรเทพ เอี่ยมสุกใส ม.3
    เป็นอาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    อาหารภาคนี้จะมีข้าวเหนียวเป็นหลัก
    รัปประทานกับน้ำพริกปลาร้าผักต้มและเนื้อสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น
    เช่นปลา,ฮวก หรือลูกอ๊อด
    อาหารตของภาคนี้มักจะมีรสชาติจัดจ้าน คือ เผ็ด เค็ม เเละเปรี้ยว

    ถูกใจ

  38. ด.ช.ไชยยุทธ แสงพลเพชร์ พูดว่า:

    ด.ช.ไชยยุทธ แสงพลเพชร์ เลขที่2 ม.3 อาหารประเภทยำ อาจเทียบได้กับสลัดผักของอาหารตะวันตก โดยรสของยำที่เหมาะ กับลิ้นของคนไทยคือ รสจัด ซึ่งอาจปรุงได้ 2 ลักษณะคือ ยำแบบรสหวาน (ได้แก่ ยำที่ประกอบด้วยกะทิ มะพร้าวคั่ว เช่น ยำถั่วพู ยำทวาย ยำหัวปลี) และยำแบบรสเปรี้ยว

    ถูกใจ

  39. ด.ช.ชินวัตร รัตนพิทักษ์ พูดว่า:

    ด.ช.ชินวัตร รัตนพิทักษ์ ม.3 เลขที่1
    อาหารมีทั้งหมด4ภาคด้วยกัน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ อาหารของแต่ละภาค
    รสชาติจะไม่เหมือนกันแตกต่างกันออกไปแต่ละภาคของภาคนั้นๆ และเครื่องปรุง และ วัตถุดิบของ
    แต่ละภาคจะไม่เหมือนกัน แต่ละภาคจะใช้วัตถุดิบ แตกต่างกันออกไป ว่าแต่ละภาค ทำอาหารแบบ
    ไหนอย่างไร วัตถุดิบจะไม่เหมือนกันรสชาติจะอร่อยไม่ เหมือนกัน มีทั้งรสชาติ เค็ม เปรี้ยว หวาน มัน
    และรสชาติ เผ็ด แตกต่างกันออกไปแต่ละเมนูที่ทำกันออกมาของแต่ละภาค ของทั้ง 4 ภาค

    ถูกใจ

  40. ธนากร นิลาวส พูดว่า:

    ด.ช.ธนากร นิลวาส ม.3 เลขที่5 อาหารของแต่ละภาคจะมีรสชาติที่นิยมแตกต่างกัน ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะชอบกินอาหารรสจัดเช่น รสเผ็ด รสเค็ม และรสเปรี้ยว เนื้อสัตว์ก็จะหาตามถิ่นแล้วปรุงตามความชอบขอบภาคนั้นๆถ้าซื้อมันจะแพงมากส่วนข้าวเหนียวจะเป็นอาหารหลัก

    ถูกใจ

  41. น.ส. ณัฐจนันท์ เจริญพล พูดว่า:

    น.ส. ณัฐจนันท์ เจริญพล ม.3 เลขที่21
    อาหารประเภทสำรับคืออาหารที่จัดเป็นชุด มีอาหารหลากหลาย หลายรสชาติและหลายลักษณะรสชาติต้องไม่้ขัดแย้งกันในกลุ่มสำรับและให้ความอร่อยเมื่อได้รับประทานเข้าไป คุณค่าในโภชนาช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อวัยวะต่างๆทำงานได้สะดวกและปกติขึ้น อาหารหลัก 5 หมู่ มี เนื้อสัตว์ ข้าวหรือ แป้ง ผัก ผลไม้และน้ำมันพืชหรือสัตว์ที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิดามิน และเกลือแร่ไขมันที่จำเป้นต่อร่างกาย

    ถูกใจ

  42. Sittipong Pet พูดว่า:

    ด.ช. สิทธิพงษ์ เอี้ยวพันธ์ ชั้น ม.3 เลขที่ 17
    อาหารสำรับ คือ การจัดอาหารหลายอย่างหลายชนิดไว้ในสำรับเดียวกกัน
    อาหารไทยของเราที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพราะว่ามีสูตรการปรุงการจัดตกแต่ง
    ความสัมคัญของอาหารสำรับ คือ ได้แสดงถึงวิถีชีวิตของคนในแตะละภาคและแสดงถึงวัฒนธรรมของคนไทย
    แล้วคนทานก็จะได้เรียนรู้อาหารสำรับของแต่ละภาค อาหารสำรับมี3ภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้
    ใน3ภาคนี้ก็จะมีอาหารสำรับเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง

    ถูกใจ

  43. อรอนงค์ อิ่มสมบูรณ์ พูดว่า:

    น.ส อรอนงค์ อิ่มสมบูรณ์ ม.3 เลขที่ 29
    อาหารของภาคกลาง
    -เป็นอาหารที่อุดมสมบูรณ์ อาหารกลางมีการผสมผสารหลากหลาย
    รสชาติ เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวานคลุกเคล้ากันไป
    อาหารสำหรับภาคเหนื่อ
    -ประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำพริกต่างๆ แกงต่างๆ รสชาติของภาคเหนือ จะได้ความหวานจากผัก จากปลา
    ได้ความเปรี้ยวจากมะเขือส้มและไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร
    อาหารสำรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)
    -ข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักรับประทานกับน้ำพริกปลาร้า ผักต้ม และเนื้อสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ปลา ฮวกหรือลูกอ๊อด กุ้งฝอย
    อาหารสำหรับภาคใต้
    -จะมีรสชาติ จะมีความเผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยวแต่ไม่นิยมรสหวาน โดยรสเผ็ดนั้นได้มาจากพริกขี้หนูสดพริกขี้หนูแห้งและพริกไทย รสเค็มได้จากกะปิและเกลือ รสเปรี้ยวได้จากส้มแขก น้ำส้มลูกโหนด ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียกและมะขามสด

    ถูกใจ

  44. ณัฐพล เจียมกุล พูดว่า:

    ด.ช.ณัฐพล เจียมกุลเลขที่3
    อาหารเป็นสิ่งสำคัญของชีวิต แต่ถ้าอาหารรสชาติอาหารเหมือนกันหมดก้ไม่อร่อยจึงมีการเพิ่มรสชาติหลายรส เช่น รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็ม และรสจืด อาหารของแต่ล่ะภาคก็มีรสชาติไม่เหมือนกัน ภาคกลาง อาหารของภาคกลางจะมีรสเปรี้ยวนำ ภาคใต้ อารหารของภาคใต้ก็จะมีรสเผ็ดนำ ภาคเหนือ อาหารของภาคเหนือก็มีรสชาติเผ็ดหวาน ภาคอีสาน อาหารของภาคอีสานจะมีรสชาติเผ็ดเค็ม รสชาติของ4ภาคก็จะแตกต่างกันไป

    ถูกใจ

  45. ด.ญ หทัยภัทร บังแสง พูดว่า:

    ด.ญ หทัยภัทร บังแสง ม.3 เลขที่ 27
    อาหารภาคกลาง
    อาหารภาคกลางคนไทยส่วนใหญ่จะเน้นใส่กระทิ อาหารใส่กะทิ เช่น แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด พะแนง เป็นต้น รสชาติของอาหารจะไม่เน้นรสชาตืได้รถชาติหนึ่ง ในอาหารจะมีรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน คลุกเคล้าจนกันตามชนิดของอาหาร เช่น แกงเขียวหวาน จะมีรส เผ็ด เค็ม มันและหวาน และจะนิยมใช้เครื่องเทศแต่งกลิ่นให้หอมชวนน่ากิน น่ารับประทาน

    ถูกใจ

  46. ตุ้ยย' ยิ้มแฉ่งงใง พูดว่า:

    ด.ช.วุฒิชัย บุญสวัสดิ์ ม.3 เลขที่13
    ได้รู้อาหารแต่ละภาคว่าแตกต่างกันเช่นภาคเหนือจะเน้นมีผัก
    ส่วนภาคใต้จะเน้นความเผ็ด และจะมีอาหารที่โดดเด่นในแต่ละภาค
    อารหารภาคกลาง ไม่เน้นรสชาติอาหารรสใดรสหนึ่ง

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น